แชร์ประสบการณ์ฝึกนั่งคาร์ซีทตั้งแต่เกิด -ปัจจุบันที่ลงตัวนั่งได้อย่างสบายๆเป็นชีวิตประจำวัน ชินแล้ว
#หากบ้านไหนยังมีปัญหาลองอ่านไปปรับใช้ตามความเหมาะสมได้นะคะ

เคยฟังลูกร้องไห้ไหม เคยนะ
เคยต้องขัดใจกับคนอื่นไหม เคยสิ
เคยอยากล้มเลิกไหม ไม่เลย
แต่เราสองคนพ่อแม่เข้าใจกัน สอนลูกในแนวทางเดียวกัน ทุกอย่างจะผ่านไปได้
.
“ความรู้สึกของเรา นอกจากเรื่องความปลอดภัยและสะดวกสบายในการเดินทางแล้ว ฝึกลูกนั่งคาร์ซีทปัญหาไม่ได้อยู่ที่ลูกเลยค่ะ อยู่ที่เราเอง”
.
• เชื่อเถอะว่า ที่ให้ลูกนั่งไม่ใช่แฟชั่น แต่เพราะห่วงชีวิตความปลอดภัยของลูกจริงๆ
• เชื่อเถอะว่า นั่งแล้วต้องรัดเข็มขัดให้กระชับ ปลอดภัยกว่าอ้อมกอดของพ่อแม่หรือใครๆเมื่อเกิดอุบัติเหตุ
• เชื่อเถอะว่า เด็กฉลาด ฉลาดพอที่จะรู้ว่า ถ้าเค้านั่ง แล้วร้องเพราะไม่อยากนั่ง แต่ไม่มีใครอุ้มออกไม่มีคนตามใจ วันนึงเค้าจะไม่ทำและเลิกไปเอง เพราะรู้ว่า ร้องแล้วไม่ได้ เหนื่อยก็หยุด
• เชื่อเถอะว่า ถ้ามีครั้งแรกในการอุ้มออกเพราะร้องโดยไม่เป็นอะไรแค่ร้องต่อรอง จะมีครั้งต่อไปและร้องหนักกว่าเดิมร้องนานขึ้น
•เชื่อเถอะ ลูกนั่งแล้วเราไม่ต้องอุ้มตลอดทาง เราสบาย ลูกก็สบาย
——-
เริ่มต้นเกิดออกจาก รพ.วันแรกน้องนั่งคาร์ซีททุกครั้งไปไหนใกล้ไกลนั่งตลอด หันหน้าเข้าเบาะจนถึง2ขวบ แล้วค่อยหันออกด้านหน้า จนถึงทุกวันนี้ กลายเป็นเรื่องปกติเค้านั่งเอง รู้ว่าตัวเองต้องอยู่ตรงไหน
เคล็ดลับเคยเขียนไปหลายครั้งแล้วอยากเขียนเพิ่มเติมนะคะ
..

🚗1.เช็คสถานะ3ข้อ ลูกกินอิ่ม ดูอึ ดูฉี่ ให้ลูกสบายตัวก่อนนั่ง ถ้าสบายดีเราจะเดินทางต่อ
.
💺2.เลือกคาร์ซีทที่นั่งสบายสำหรับลูก เลือกตามงบประมาณได้เลยค่ะ ถูกแพงไม่สำคัญ ขอให้จ่ายไปอย่างคุ้มค่า ปันจุบันอายใช้ผ่านมา 3 ยี่ห้อ
2.1. Recaro Start + i ใช้ตอนแรกเกิดจนถึง
เท่ดี แต่พอโตสัก1ขวบ รู้สึกนั่งไม่ค่อยเอนไปหน่อยนั่งตั้งแล้วไม่ค่อยตรง ไม่สบายเลยถอดเก็บ
2.2. OMP รุ่น Kudos นั่งสบาย ท่านอนเอนได้ ท่านั่งปรับตรงได้ ผ้าระบายความร้อนได้ดีเลยค่ะ (ใช้อยู่)
2.3. Daiichi รุ่น First7 รุ่นผ้าระบายความร้อน
รุ่นนี้ราคาสูงกว่าอันอื่นคุณภาพดีผ้า วัสดุนิ่มลื่นไม่เก็บความร้อนเลย ปรับได้หลายระดับ ตัวนี้อายก็พาไปRoad trip ที่ นิวซีแลนด์ด้วยนั่งสบายจริง (ใช้อยู่กับรถอีกคัน)
.
🚧3.นั่งใกล้ๆก่อน 30นาทีค่อยๆเพิ่มนานขึ้น 1ชม. พักจอดแวะปั๊มยืดเส้นสายให้ผ่อนคลาย ยังไม่เดินทางยาวในช่วงแรกจอดพักให้อุ้มลูกพักบ้างนะคะ
อย่างอายตอนไปRoad trip นิวซีแลนด์ยอมรับว่านั่งรถนานมาก ก็จะแวะพักทุก 2-3ชม.ค่ะให้ลูกวิ่งเล่น
.
🏀4. ของเล่น หนังสือ ขนม ผลไม้สด ติดไว้ให้ลูกทานเล่นช่วยทุนแรงเพลินๆ (มีติดรถไว้ตลอดแก้เบื่อ)
.
🎼5.เพลงบนรถ ช่วง 0-2ขวบ อายเปิดแต่เพลงไม่ได้เปิดจอเลยค่ะ ฟังเพลงร้องเพลงไปพร้อมลูกช่วยได้เยอะ
หลัง2ขวบ ที่เค้าพูดคุยรู้เรื่องสื่อสารกันได้ ก็มีเปิดให้ดูเวลาอยู่บนรถที่เดินทางนานๆเช่นไปต่างจังหวัด แต่ระหว่างทางจะชวนลูกถามตอบ พูดคุยกันเสมอ เช่น อันนี้สีอะไร ไหนร้องเพลงตามได้ไหม นี่ตัวอะไรลูก เป็นต้น ไม่ทิ้งลูกให้จ้องนานๆ
📺 > เรื่องจอใช้สองทางคือ นั่งเครื่องบินกับนั่งรถนานๆหลัง2ขวบ แต่บอกก่อนว่าไม่ใช่วิธีแรกที่ควรเลือก บางทีร้องจะดูก็ปวดหัวไปอีก (ให้เป็นไม้ตายไม่บ่อยพอกรุบกริบเป็นของหวานไม่มากไม่น้อยดีที่สุดค่ะ)
————————————

เขียนวิธีอาจไม่เก็ท เขียนสถานการณ์ที่เจอแล้วต้องควบคุมสติที่เคยเจอมาแล้วกันเนอะ
🔺ร้องไห้ไม่หยุด
วิธีแก้ > เช็คลิส3ข้อ ถ้าปกติ เราจะเดินทางต่อ แล้วพักแวะปั๊มได้ เสียงร้องไห้ ทำให้เราสติแตกได้ง่ายมากแต่พยายามข่มใจ ถ้าพูดน้ำเสียงเรียบๆแล้วเขายังร้องก็อ่อนโยน แต่ไม่อ่อนแอนะ จับมือลูก ชวนคุยเรื่องอื่น เล็กๆเบี่ยงเบนได้ง่ายมากกว่าตอนโต1ขวบ+
~ถ้า3ข้อเกิดหิว อึ ฉี่ เปลี่ยนให้เรียบร้อยค่อยเดินทาง
หากเอาลูกเข้าเต้าโดยปกติอายจะให้เค้ากินให้อิ่มก่อนขึ้นรถจะไม่มีข้อแม้ว่าร้องกินนมแล้วออกจากคาร์ซีทได้ หรือให้ขวดนมแทนค่ะ (นี่เป็นอีกเหตุผลที่ฝึกทั้งเต้าทั้งขวด)

🔺หลังจากพูดแล้วไม่ดีขึ้น
นิ่งค่ะ เฉยๆ นั่งเฉยๆ ถ้าคุณสามีทนขับรถไหวขับจิบน้ำ พลางๆ5555 เดี๋ยวก็เงียบ อดทน คุมสติตัวเอง

🔺ร้องจนอ้วก หน้าดำหน้าแดง
เราอยู่กับลูกจะรู้ว่าแบบไหนคือพฤติกรรมปกติ และ พฤติกรรมไม่ปกติ(ป่วยจริง) บางครั้งร้องจนอ้วกออกมา แต่ไม่ป่วยแต่ทำให้อ้วกได้ เคยเกิดขึ้นกับเราค่ะ จอดรถ แล้วค่อยอุ้มออก พาให้ใจเย็น เปลี่ยนชุดกลับไปนั่งต่อค่ะ ให้ลูกรับรู้ว่าไม่เป็นไรลูกเช็ดเสร็จก็นั่งเหมือนเดิมอ้วก=เช็ด=นั่งที่เดิมออกรถ

🔺ถ้าร้องไห้ถึงจุดหนึ่ง แล้วมีคนอุ้มออก…
เคยค่ะ คุณยายเคยไปด้วยแล้วอุ้มหลานออกก็ได้เห็นผลลัพธ์ทันที ว่าวางกลับไปแล้วร้องหนักกว่าเดิม30นาที จนต้องคุยกันให้เชื่อ เพราะถ้าอีกคนฝึก อีกคนอุ้มออก จริงๆเป็นปัญหาของเรา แต่ลูกเหมือนเค้ารู้ว่าร้องไห้แล้วจะสำเร็จเค้าจะร้องนานขึ้น อันนี้สงสารลูกจากความอ่อนแอของเราเองนะ

🔺ยังไงก็ต้องนั่ง
ดูดุนะแต่ไม่ยักษ์ ใจดีแต่ไม่ใจอ่อน แต่ขึ้นอยู่กับตัวพ่อแม่เองว่าทำให้ลูกเชื่อเราได้แค่ไหน
เหมือนเราจะเป็นคนพูดแล้วจริงจัง
หรือเราจะเป็นพ่อแม่ที่ลูกไม่เชื่อ เขียนไปก็ดูเหมือนต้องบังคับแต่จริงๆแล้วอายว่าอยู่ที่ “วิธีการนำเสนอ”
ยังไงก็นั่งลูก กลับไปนั่ง การต่อรอง ไม่ได้ผล ลูกจะเลิกร้องไปเอง

🔺มีข้อตกลง(ใช้ตอนลูกโตพูดรู้เรื่องแล้ว2ขวบ+)
บางทีก็มีโมเม้นอยากเอาแขนออกนอกเข็มขัดก็จะตกลงกันว่าใส่ก่อนนะครับ เดี๋ยวเราจะไปทำอะไรกัน ไปเที่ยวไหนกัน อยากดูปลา อยากดูยีราฟของจริงไหม ตัวมันสูงมากนะ เล่าเรื่องให้เห็นภาพ/ รอจนรถจอดเดี๋ยวเอาออกได้นะ เป็นต้น

ทุกครั้งที่หันไปแล้วยอมรับยิ้มหน้าบาน ว่าภูมิใจที่เห็นลูกนั่งคาร์ซีท เป็นเรื่องปกติ ไม่ใช่เรื่องใหญ่
ยินดีกับความเคยชินที่เราผ่านเรื่องที่คิดว่าใหญ่มาก แต่พอผ่านแล้วมันก็ไม่ได้ใหญ่ขนาดนั้นนินา ทำได้ ใช้เวลาสักนิด อดทนมากหน่อย ใจดีแต่ไม่ใจอ่อนกับเรื่องที่ควร…..

เป็นกำลังใจให้ทุกครอบครัวที่อยากฝึกให้ลูกนั่งคาร์ซีทนะคะ เชื่ออย่างนึงว่า คำว่าอุบัติเหตุไม่มีให้อยากให้เกิดขึ้นกับครอบครัวเราหรอก
แต่ยังไงล่ะ..
มันคืออุบัติเหตุ ไม่มีทางรู้ มีทางป้องกัน มีทางบรรเทา แต่คงไม่100% เราไม่ชนเขา เขาก็ชนเราบางทีคนประมาทมีมาก อย่างไรกันไว้ดีกว่าแก้ ในเรื่องง่ายๆกันเนอะ

การเลี้ยงลูกในแต่ละบ้าน ไม่มีผิดไม่มีถูก แล้วแต่ความเหมาะสมที่พ่อแม่เลือกใช้นะค้า
#เขียนเพราะผ่านมาแล้วทำได้จริงๆ
#สู้สู้นะทุกคน
#Rockyjourney
#Rockytips

Facebook Comment
Menu